ข่าวน้ำท่วม

ไทยพีบีเอสจับมือนิเทศจุฬาฯ เปิดศูนย์ข่าวเฉพาะกิจลุยทำข่าวน้ำท่วม

commarts-tpbs-thai
           ไทยพีบีเอสไม่หวั่นน้ำท่วมกรุงฯ แม้สำนักงานใหญ่ไปมาลำบาก รุกเปิดศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ “Thai PBS-Chula” เพื่อคงคุณภาพการรายงานข่าวสารฝ่าวิกฤตน้ำท่วม พร้อมถือเป็นโอกาสสร้างเครือข่ายสื่อสารมวลชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
           นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สสท.) หรือ ไทยพีบีเอส (Thai Public Broadcasting Service: Thai PBS) เปิดเผยว่า ไทยพีบีเอสได้รับการเอื้อเฟื้อให้เปิด “ศูนย์ข่าวไทยพีบีเอส-จุฬาฯ” หรือ “Thai PBS-Chula News Center” ขึ้น ที่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้การติดตามรายงานข่าวและการจัดรายการต่าง ๆ มีความคล่องตัว สามารถคงคุณภาพของข่าวสารและการทำงานของทีมงาน รวมทั้งเพื่อความสะดวกของวิทยากรผู้มาร่วมรายการของไทยพีบีเอสด้วย ขณะนี้ได้เตรียมพร้อมระบบที่จะออกอากาศตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน นี้ เป็นต้นไป โดยจะใช้ศูนย์ข่าวเฉพาะกิจแห่งนี้ผลิตรายการข่าวหลักๆ เช่น รายการชั่วโมงทำกิน รายการศิลป์สโมสร รายการจราจรรับน้ำท่วม และรายการที่นี่ไทยพีบีเอส เป็นต้น ในขณะที่ทีมงานส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติภารกิจกันเต็มกำลังที่สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดี เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
           “เนื่องจากหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ ประสบปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งบริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งที่ทำการของไทยพีบีเอสตั้งอยู่ก็มีน้ำท่วมสูง ทำให้การเดินทางไปมาลำบาก ไทยพีบีเอสจึงขอขอบพระคุณคณะนิเทศศาสตร์จุฬาฯ เป็นอย่างสูง ที่เล็งเห็นความสำคัญและอนุญาตให้มาใช้สถานที่และอุปกรณ์สำคัญ ๆ ที่ช่วยให้ไทยพีบีเอสสามารถทำหน้าที่สื่อสาธารณะได้อย่าง สมบูรณ์มากขึ้น” นายเทพชัย กล่าว
           ทางด้าน รศ.ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า คณะนิเทศศาสตร์จุฬาฯและไทยพีบีเอส มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อน้ำท่วมถึงที่ทำการของไทยพีบีเอส จึงอยากมีส่วนร่วมให้สนับสนุนการทำงานของไทยบีเอส ซึ่งที่ผ่านมาได้ให้บริการข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับประชาชนให้มีความราบรื่นและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสถาการณ์ขณะนี้ที่ข่าวสารที่เที่ยงตรง รวดเร็ว และเป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชน
           “เวลานี้เราต้องมองไปที่ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และก้าวข้ามความเป็นองค์กรหรือความเป็นสถาบัน โดยบูรณาการกำลังคนและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งไทยพีบีเอสนั้นเป็นองค์กรสื่อสาธารณะจึงทำให้การร่วมมือกันมีความเป็นไปได้มากขึ้นเพราะไม่มีความกังวลประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจมาเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่นิสิตจะได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกับทีมสื่อมืออาชีพ ทำให้เราเป็นเครือข่ายทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวตอนท้าย
           อนึ่ง “ศูนย์ข่าวไทยพีบีเอส-จุฬาฯ” หรือ “Thai PBS-Chula News Center” ตั้งอยู่ที่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านสื่อดิจิทัล (Center of Excellent Digital Media) ชั้น 1 อาคารหลังใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
 
           สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ : สายศิริ ด่านวัฒนะ, ฝ่ายสื่อสารองค์กรไทยพีบีเอส, 085-331-9912
 

IMG_5465 IMG_5442
IMG_5449 IMG_5459

"การบริหารหลัง" ภายหลังการทำกระสอบทราย

philo-thai
           ในสถานการณ์อุทกภัยปี 2554 นี้ หลายๆ ท่านมีจิตอาสาทำกระสอบทราย ซึ่งการทำกระสอบทรายหรือยกกระสอบทรายเป็นเวลาหลายชั่วโมงติดต่อกัน อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ จากการก้ม บิดหมุนลำตัว ซ้ำๆ ในท่าเดิม อย่างต่อเนื่อง สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยจึงขอแนะนำท่าทางในการบริหารตนเองภายหลังการทำกระสอบทราย เพื่อป้องกันการปวดหลังอันเนื่องมาจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มาฝากกัน

philo-1 1. ท่ายืน แอ่นหลัง วางมือที่บั้นเอวแต่ละข้าง แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลัง โดยที่ไม่รู้สึกเจ็บปวด แล้วกลับสู่ท่ายืนตรง ทำซ้ำ 10 ครั้ง ท่านี้ทำได้ในขณะที่พักจากการทำถุงทรายชั่วคราว และต้องกลับไปทำต่อ (ที่มาของภาพประกอบ: www.backtrainer.com )

           2. ท่านอนคว่ำ แอ่นหลัง ทำโดยการนอนคว่ำ งอศอกไว้ที่ใต้หัวไหล่แต่ละข้าง ฝ่ามือราบกับพื้น แล้วใช้การกดที่ข้อศอกและฝ่ามือ เพื่อยันลำตัวช่วงบนขึ้น โดยไม่เกิดอาการปวดหลัง ค้างไว้ 5 วินาที แล้วนอนราบลงช้า ทำซ้ำ 10 ครั้ง (ที่มาของภาพประกอบ: www.easyvigour.net.nz) ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดจากกล้ามเนื้อหลังและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยการลุกจากที่นอน จากท่านอนคว่ำ หรือจากนอนตะแคงจะให้ความสบายต่อหลังมากกว่าการลุกจากท่านอนหงาย

philo-2

           การออกกำลังกายดังกล่าว ให้ทำอย่างต่อเนื่อง วันละอย่างน้อย 3 ครั้ง จนกว่าจะหายปวดเมื่อยในเวลา 2-3 วัน แต่หากท่านใดมีอาการปวดหลัง ร้าวลงขา ขอแนะนำให้พบแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

philo-3 ในการยกกระสอบทรายก็สำคัญมาก จะต้องทำให้หลังตรงก่อนยก หรือการโยนถุงทรายเสมอ หากเป็นไปได้ให้ใช้วิธีลากจูง ซึ่งก็ต้องทำให้หลังตรงขณะลากจูงเช่นกัน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ แล้ว ก็ใช้วิธีบริหารร่างกาย หลังทำกระสอบทราย (ที่มาของภาพประกอบ: www.fitnessgenerator.com/.../backward%20drag.gif )

           เราจะผ่านภาวะน้ำท่วมนี้ไปได้ด้วยกัน สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2554

           ขอขอบพระคุณเนื้อหาจาก : สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ( www.thaipt.org ) และ ผศ.ดร.วนิดา นพพรพันธุ์ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ที่ช่วยแนะนำข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์

บัญญัติ 21 ประการ “ซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม”

formulate21-thai

 บัญญัติ 21 ประการ “ซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม” เขียนโดย อาจารย์ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

           อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ เขียนหนังสือเรื่อง “บ้านหลังน้ำท่วม” เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2538 และมีการช่วยกันจัดพิมพ์กันไปหลายแสนเล่ม เพราะว่าเป็นหนังสือที่ประกาศชัดเจนว่า “ไม่มีลิขสิทธิ์” ใครอยากเอาไปทำอะไรก็ตามสบาย ยกเว้นแต่ “ห้ามนำไปจำหน่าย” เท่านั้น
           เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาทั้งหลายยังเป็นปัญหาเดิมๆ อยู่ เมื่อมาถึงวันนี้ อาจารย์ขอยกบางหัวข้อที่เห็นว่าเหมาะกับเหตุการณ์น้ำท่วม 2554 มาจัดเรียงใหม่ เพื่อความกระชับและสามารถส่งกันทางอีเมล์ หรือลงใน website ต่างๆ ได้สะดวกขึ้น
           อาจารย์พยายามเร่งเขียนเอกสารนี้ เพราะว่าอยากให้เสร็จก่อนน้ำจะลด (แม้บางแห่งน้ำยังไม่ท่วม) เพื่อการเตรียมการที่ดี และไม่ให้ชาวบ้านกลุ้มใจมากนักเพราะพอจะเห็นทางที่จะแก้ไข และอาจารย์กล่าวว่าเอกสารนี้ยังคง “ไม่มีลิขสิทธิ์” เหมือนเดิม ท่านใดจะเอาไปสื่อสารกันอย่างไรก็ตามสบาย ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องแจ้งให้ทราบ ไม่ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา หรือชื่อผู้เขียนใดๆ ก็ได้ เพราะเพียงเริ่มเผยแพร่ “บุญ” ก็เกิดแล้ว

           อ่านเอกสารและดาวน์โหลด : คลิกที่นี่

ประกาศ! การเปลี่ยนแปลงปฏิทินการศึกษาระบบทวิภาค และทวิภาค-นานาชาติ

cicc-change-edu-thai
ประกาศการเปลี่ยนแปลง  ปฏิทินการศึกษา  ระบบทวิภาค
ภาคการศึกษาปลาย  ปีการศึกษา 2554

กำหนดการ

สัปดาห์ที่

เริ่มต้น

สิ้นสุด

นิสิตที่แสดงความจำนงขอลงทะเบียนเรียนไว้ ชำระค่าเล่าเรียนผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขาทั่วประเทศ  โดยใช้วิธีหักผ่านบัญชีธนาคาร หรือชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร

 
 

จ. 17 ต.ค. 54
 

จ. 31 ต.ค. 54
 

วันเปิดเรียน

 

จ. 14 พ.ย. 54

-

นิสิตลงทะเบียนเรียนสาย เพิ่มรายวิชา และเปลี่ยนตอนเรียน

1 - 2

จ. 14 พ.ย. 54

ศ. 25 พ.ย. 54

นิสิตชำระค่าเล่าเรียน พร้อมค่าปรับการลงทะเบียนเรียนสาย ที่สำนักงานการทะเบียนและประมวลผล อาคารจามจุรี 5 ชั้น 2 โดยชำระเป็นเงินสด หรือแคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เท่านั้น   (เฉพาะนิสิตที่แสดงความจำนงขอลงทะเบียนเรียนไว้ สำหรับภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2554 ชำระค่าเล่าเรียนโดยไม่ต้องชำระค่าปรับ)     

 

จ. 14 พ.ย. 54
 

ศ. 25 พ.ย. 54
 

นิสิตลดรายวิชา

1 - 6

จ. 14 พ.ย. 54

ศ. 23 ธ.ค. 54

นิสิตแสดงความจำนงขอถอนรายวิชา (W) / ขอสำเร็จการศึกษา

7 - 12

จ. 26 ธ.ค. 54

ศ. 3 ก.พ. 55

วันสอบกลางภาคการศึกษา

8

อ. 3 ม.ค. 55

ศ. 6 ม.ค. 55

กำหนดสอบประจำภาค

16 - 17

จ. 27 ก.พ. 55

ศ. 9 มี.ค. 55

วันสุดท้ายที่ สทป. รับ CR57/CR58

18

พฤ. 15 มี.ค. 55

-

คณะ/บัณฑิตวิทยาลัย อนุมัติการสำเร็จการศึกษา

19

จ. 19 มี.ค. 55

ศ. 23 มี.ค. 55

นิสิตสอบถาม CR60

19

พ. 21 มี.ค. 55

-

ประกาศรายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา เสนอที่ประชุมคณบดี

20

พ. 28 มี.ค. 55

-

สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการสำเร็จการศึกษา

20

พฤ. 29 มี.ค. 55

-

 
           หมายเหตุ
               1. เลื่อนการเปิดภาคการศึกษา 2 สัปดาห์ โดยกำหนดสอบประจำภาคไม่เปลี่ยนแปลง
               2. กีฬามหาวิทยาลัย วันที่ 14-21 มกราคม 2555
               3. วันเปิดเรียน และกำหนดการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งจะประกาศให้ทราบต่อไป

 

ประกาศการเปลี่ยนแปลง  ปฏิทินการศึกษา  ระบบทวิภาค-นานาชาติ
ภาคการศึกษาต้น  ปีการศึกษา 2554

กำหนดการ

เริ่มต้น

สิ้นสุด

กำหนดสอบประจำภาค

อ. 13 ธ.ค. 54

ศ. 23 ธ.ค. 54

วันสุดท้ายที่ สทป. รับ CR57/CR58

พฤ. 29 ธ.ค. 54

-

นิสิตสอบถาม CR60

พ. 4 ม.ค. 55

-


            สำนักงานการทะเบียนและประมวลผล : 2 พฤศจิกายน  2554 (http://www.reg.chula.ac.th/)

สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์เพื่อผลิตยาน้ำกัดเท้า

pharma-thai
           สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนภจ.) โดยศูนย์ประสานงานเภสัชกรรมเพื่อผู้ประสบสาธารณภัย (ศ.ป.ภ.ส.) ของสโมสร ได้จัดโครงการผลิตยาขี้ผึ้งรักษาน้ำกัดเท้าขึ้นเพื่อบริจาคให้กับผู้ประสบอุทกภัยในปัจจุบัน โดยนิสิตและนิสิตเก่าเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การควบคุมการผลิตของอาจารย์เภสัชกรในคณะฯ
           ทั้งนี้ ทางสโมสรฯ เคยผลิตและบริจาคยารักษาน้ำกัดเท้าผ่านทางมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 จำนวน 2,000 ตลับ และร่วมกับกลุ่มน้ำเอย...น้ำใจ ผลิตยาขี้ผึ้งรักษาน้ำกัดเท้าตั้งแต่วันที่ 10-19 ตุลาคม 2554 ได้จำนวนทั้งสิ้นกว่า 180,000 ตลับ และดำเนินการบริจาคผ่านองค์กร/หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ทั้งนี้ ยังคงประสบปัญหาความขาดแคลนยารักษาน้ำกัดเท้าอยู่ในอีกหลายพื้นที่ เนื่องจากโรงงานผลิตยาขนานนี้มีอยู่อย่างจำกัด
           ในการนี้สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธา บริจาคทุนทรัพย์ผ่าน ชื่อบัญชี นางสาวลดาวัลย์ กิตติพัฒน์วงศ์ และ/หรือ นางสาวจิตต์ประไพ น้อยนวล เลขที่บัญชี 038 – 451445 – 4 (ออมทรัพย์) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์

           รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ
                    นสภ.ลดาวัลย์ กิตติพัฒน์วงศ์ (แอม ปี 4) หัวหน้าศูนย์ฯ โทร. 08-5366-7831 หรือ
                    นสภ.จิตต์ประไพ น้อยนวล (หวาน ปี 3) เลขานุการศูนย์ฯ โทร. 08-5018-3875
                    หรือที่เว็บไซต์ http://www.psucu.co.cc/ และ http://www.pharm.chula.ac.th
                    หรือ Facebook ที่ http://www.facebook.com/samorxcu