ข่าวน้ำท่วม

ด่วน! จุฬาฯ รับอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

bannervo-flood-thai
           จุฬาฯ ขอเชิญชวนนิสิต บุคลากร และประชาชนทั่วไป สมัครเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ได้ที่ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยทางศูนย์ฯ จะมีกิจกรรมแพ็คสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในวันที่ 15 ตุลาคม 2554  ตั้งแต่เวลา 9.00 น. 
           สำหรับผู้ที่ต้องการจะร่วมบริจาคเงินและสิ่งของ สามารถติดต่อทางศูนย์ฯ ได้ ที่ศาลาพระเกี้ยว ในวันธรรมดา 8.00 – 17.00 น. และวันเสาร์ – อาทิตย์ 9.00 น. – 16.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 085-335-9422

มาตรการช่วยเหลือนิสิต บุคลากรจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยน้ำท่วม

measures-thai
           วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2554 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสารนิเทศ ได้มีการประชุมคณบดีวาระพิเศษ โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ โดยได้วางมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย โดยการประสานความร่วมมือกับนิสิตเก่าจังหวัดต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนในพื้นที่ และเข้าไปช่วยเหลือ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวางแผนช่วยเหลือเป็นระบบอย่างครบวงจร ดังนี้

           1. วิเคราะห์สถานการณ์โอกาสการเกิดน้ำท่วมในเขต กทม.
               (คณะทำงาน Disaster Management Center : ศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

           2. โครงการ “ชาวจุฬาฯรวมใจ  ช่วยภัยน้ำท่วม”
               2.1 นิสิตที่ประสบอุทกภัย
                      • เงินช่วยเหลือ
                      • ทุนการศึกษา
                      • จัดที่พักชั่วคราว (ที่หอพักจุฬาฯ)
                      • การลงทะเบียน
               2.2 บุคลากรที่ประสบอุทกภัย
                      • โครงการสวัสดิการเงินยืมเพื่อบุคลากรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 (รายละไม่เกิน 20,000 บาท)
                      • โครงการสวัสดิการเงินยืมเพื่อการซ่อมบ้าน (หลังน้ำลด)
                      • ที่จอดรถชั่วคราว
                      • ที่พักชั่วคราว
                         - หอพักจุฬานิเวศน์
                         - หอพักนิสิต
                         - คณะ วิทยาลัย สถาบัน
                         - ยิมเนเซียม 2
                         - สนามกีฬาในร่ม
                     • การลา (หากไม่สามารถเข้ามาปฏิบัติงานได้ ให้หัวหน้าส่วนงาน พิจารณาเป็นรายๆ ไป)
               2.3 มาตรการให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน
                     แผนระยะสั้น : ตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยจุฬาฯ ที่ศาลาพระเกี้ยว
                     • กลุ่มสถาบันวิจัยและศูนย์เครื่องมือฯ รวบรวมเครื่องอุปโภคบริโภคและเรือ(จำนวน23ลำ) ไปช่วยชาวบ้านที่ จ.อยุธยา(2 ต.ค.)
                     • วิทยาลัยปิโตรเลียมฯ ได้รวบรวมของบริจาคระหว่างวันที่ 1-7 ตุลาคม ประกอบด้วย ของใช้ประจำวัน เครื่องอุปโภคบริโภคที่เป็นของแห้ง เสื้อผ้า กระดาษ น้ำดื่ม นม เป็นต้น มีการจัดระบบแยกหมวดหมู่ แยกของให้ครบตามความต้องการไปช่วยชาวบ้าน ณ บ้านโคกกระเทียม บ้านคอกกระบือ บ้านบางลี่ และบ้านหนองปลิง ตำบลโคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี (8 ต.ค. 54)
                     • คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ คณะสัตวแพทย์ฯ 5 สถาบัน ร่วมกับกรมปศุสัตว์ สัตวแพทย์สมาคมฯ สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และสมาคม  ชมรมนิสิตเก่าสัตวแพทย์ 6 สถาบัน ออกพื้นที่เขต 1 ที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่เดือน ต.ค.-ธ.ค.
                     • การให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับภัยน้ำท่วมผ่าน “สถานีวิทยุจุฬาฯ”
                     • สำนักงานกิจการนิสิต รับบริจาคเงินและสิ่งของ รวมทั้งการออกเรี่ยไร ที่สยามสแควร์ (11 ต.ค.) เพื่อลงไปช่วยเหลือชาวบ้าน
                     • โครงการ “น้ำเอยน้ำใจ” ของนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ ในการผลิตครีมทาป้องกันเท้าเปื่อยและเชื้อรา จำนวน 200,000 ตลับ
                     • รวมพลนิสิตอาสาสมัครเพื่อลงไปช่วยบรรจุสิ่งของและขนของขึ้นรถบรรทุก เพื่อกระจายไปตามจุดต่างๆ
                          - สภากาชาดไทย
                          - ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ)
                          - ศูนย์ธรรมศาสตร์
                     • ชาวจุฬาฯ รวมใจช่วยภัยน้ำท่วม ในเขต4อำเภอ(บ้านหมอ ดอนพุด หนองโดนและเสาไห้)ของจ.สระบุรี ในวันอาทิตย์ที่16 ต.ค.
                     • ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ออกไปช่วยชาวบ้าน ณ จังหวัดลพบุรี  และสระบุรี (พฤหัสฯ ที่ 20 ต.ค.)
                     • การให้ความช่วยเหลือชุมชน 5 ส 
                      แผนระยะกลางและระยะยาว :
                     • การระดมชาวจุฬา เพื่อจัดทำแผนการแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากที่ต้นเหตุ อย่างเป็นระบบครบวงจรและยั่งยืน ตั้งแต่ การป้องกัน การเตือนภัย การแก้ไข และการฟื้นฟู
                     • การลงไปช่วยทำความสะอาด ซ่อมแซมบ้าน การทาสี บูรณะพื้นที่ ต้นไม้และสิ่งแวดล้อม
                     • การลงไปฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้าน
                     • จัดหน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ไปให้บริการ
                     • การให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ตามความต้องการของแต่ละแห่ง

           3. การเตรียมการเพื่อป้องกันอุทกภัยของมหาวิทยาลัย
                     • การจัดตั้ง War Room (ศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติแห่งจุฬาฯ : Disaster Management Center)
                     • การทำแผนฯ ป้องกัน (การสำรวจ การสูบน้ำ ถุงทราย ฯลฯ)
 

           รายละเอียดเพิ่มเติม : จดหมายข่าวจุฬาฯ

ประกาศ "การชำระค่าเล่าเรียนของนิสิตระบบทวิภาคที่ประสบอุทกภัย" (ปรับปรุงใหม่)

studentpayflood


           เนื่องจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด รวมทั้งเขตปริมณฑล และ กทม.บางเขต  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เลื่อนการเปิดภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2554 เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 นั้น สำนักงานการทะเบียนและประมวลผลจึงขอเปลี่ยนแปลงการชำระค่าเล่าเรียน โดยนิสิตที่ได้แสดงความจำนงขอลงทะเบียนเรียนไว้ ให้ชำระค่าเล่าเรียนได้ ดังนี้
           1. วันที่ 17 - 31 ตุลาคม  2554  ชำระค่าเล่าเรียนผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยใช้ระบบหักผ่านบัญชี หรือชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
           2. วันที่ 14 - 25 พฤศจิกายน 2554 ชำระค่าเล่าเรียนในช่วงการลงทะเบียนเรียนสาย โดยไม่ต้องชำระค่าปรับ  ที่สำนักงานการทะเบียนและประมวลผล อาคารจามจุรี 5 ชั้น 2 โดยชำระเป็นเงินสด หรือ แคชเชียร์เช็ค   สั่งจ่าย “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เท่านั้น  ทั้งนี้ สำนักงานการทะเบียนฯ จะคงผลการลงทะเบียนเรียนของนิสิตไว้ภายในไม่เกินวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554
           สำหรับนิสิตที่ไม่ได้แสดงความจำนงขอลงทะเบียนเรียนไว้  ให้ลงทะเบียนเรียนสายในระหว่างวันที่ 14 - 25 พฤศจิกายน 2554 โดยชำระค่าเล่าเรียนพร้อมค่าปรับที่สำนักงานการทะเบียนและประมวลผล อาคารจามจุรี 5 ชั้น 2

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ : สำนักงานการทะเบียนและประมวลผล โทร. 02 2180004, 022180022


*** แก้ไขข้อมูลล่าสุด วันที่ 26 ตุลาคม 2554

รวมเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์ "ช่วยเหลือ-ติดตาม" น้ำท่วมที่สำคัญ

phone-flood-thai


รวมเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์"ช่วยเหลือ-ติดตาม"น้ำท่วมที่สำคัญ

1. ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
http://www.gisthai.org/
2. แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.)
http://maintenance.doh.go.th/test.html
3. ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ
http://flood.gistda.or.th/
4. ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม.
http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/
5. รายงานสภาพการจราจร
http://traffic.longdo.com/
6. ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก
http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx
7. ติดตามข่าวสารน้ำท่วม
http://dds.bangkok.go.th/m/index.php
8.กรมทรัพยากรน้ำ
http://www.dwr.go.th/report
9.กรมทางหลวงชนบท
http://fms2.drr.go.th/


เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ :
สำนักนายกรัฐมนตรี   1111
สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย)   1784
บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี   1669
ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท   1146
ตำรวจทางหลวง  สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193
การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
สายด่วน กฟภ. 1129
ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111
ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822
ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ลพบุรี 0-3641-4480-1 , 0-3641-1936
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.พิษณุโลก 0-5523-0537-8 , 0-5523-0394
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.พระนครศรีอยุธยา 0-3533-5798 , 0-3533-5803
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา  035 – 241-612
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ตาก 0-5551-5975
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.สิงห์บุรี 0-3652-0041
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.อ่างทอง 0-3564-0022
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.นครสวรรค์ 0-5625-6015
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.นนทบุรี 0-2591-2471
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ปทุมธานี 0-2581-7119-21
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.พิจิตร 0-5661-5932
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.นครนายก 0-3738-6209 , 0-3738-6484
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.สุพรรณบุรี 0-3553-6066-71
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.สระบุรี 0-3621-2238
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.สุโขทัย 0-5561-2415
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี 0-5652-4461
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.อุตรดิตถ์ 0-5544-4132
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ลำปาง 0-5426-5072-4
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.เชียงใหม่ 0-5321-2626
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ลำพูน 0-5356-2963
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.อุบลราชธานี 0-4531-2692 , 0-4531-3003
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.เลย 0-4286-1579 , 0-4296-1581
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จ.ชัยนาท 0-5641-2083
ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่  1 02-281-5443
ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ 053-248925, 053-262683 
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน 053-202609
ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )
สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร 034-881175, 034-839037 ต่อ 11
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433
ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232
สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง
สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253
แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113  หรือ 02-791-1385-7
ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.
สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง
ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง
รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง
ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013
มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599
มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง
ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111
บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771
นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955
นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325
นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6
แอร์เอเชีย 02 515 9999
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง 
 
สำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถติดตามสถานการณ์และดูคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านบัญชีทวิตเตอร์ดังนี้ :
@thaiflood - ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
@Rawangpai -สถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ
@BKK_BEST - รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่อตัน ฝาท่อชำรุด น้ำเน่าเสีย@
@floodcenter- ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย
@thaiflooding - ศูนย์ข่าวรายงานการแจ้งเตือนน้ำท่วมนาที ต่อนาทีโดยอาสาสมัคร-นักศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ
@help_thaiflood-สร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
@Asa_Thai - อาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม
@PR_RID - กรมชลประทาน สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ โทร.022410965 สายด่วน 1460 สอบถามสถานการณ์น้ำ026692560(24ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
@ndwc_Thai - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
@Aormortor - องค์การนศ.ธรรมศาสตร์ (ทวิตเตอร์ประสานงานกลางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมธ.)
@bangkokgovernor - ทวิตเตอร์กทม.
@BKKFlood  - ตามติดสถานการณ์กรุงเทพฯ และรอบนอก
@SiamArsa - อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย | เครือข่ายอาสาสมัครออนไลน์ | ตลาดนัดกิจกรรมอาสา | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ข้อมูลช่วยเหลือ | แหล่งบริจาค |ประกาศรับอาสาสมัคร
@GCC_1111 - ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน
@aunonline - Owner of Red Dane Milk @Samyarn Chula, Citizen Journalist 
 
นอกจากนั้น ผู้สนใจยังสามารถติดตามผ่านช่องทางเฟซบุ๊คได้ดังนี้ :
"เกษตรศาสตร์รวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"
"อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย
"อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม"
"The Thai Red Cross Society"
"ThaiFlood ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"
"น้ำขึ้น ให้รีบบอก" 
 
จุดรับบริจาค      
-จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://www.princess-pa-foundation.or.th/index.html      
-จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://www.facebook.com/ArsaDusit      
-จุดบริจาค อาสาไทยฯ (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ http://ow.ly/6Bzaj
-จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้า ร.ร.ดุสิต สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด
-จุดบริจาค โรงแรมไนซ์พาเลซ (5 -15 ต.ค.) ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร อยู่ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8 บริจาคของ น้ำดื่ม ถุงดำ อาหารแห้ง ยา เช่น ยาน้ำกัดเท้า แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ฯลฯ แพมเพอสผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ
-จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110 รายละเอียด
-จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม)
-จุดบริจาค หอศิลปกรุงเทพ (แยกปทุมวัน) 1-31 ต.ค.
-จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7
-จุดบริจาค ร้านแมคโดนัลด์ ทุกสาขาทั่วประเทศ รับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่ม
-จุดบริจาค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภค-บริโภค ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ที่ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช  สอบถามโทร. 0 2419 7646-56