โครงสร้างหน่วยงาน
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ: วันพุธ, 04 มกราคม 2560 17:25
- ฮิต: 6098
1. สร้างและปรับปรุงระบบการสื่อสารที่ทันสมัยมีความเป็นสากลและยั่งยืน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้รับสารชาวต่างประเทศ (International Target Audience)
2. บริหารจัดการงานประชาสัมพันธ์เชิงรุก (Proactive Public Relations หรือPPR) ของจุฬาฯ ให้มีความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ วางแผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Communication) ทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับมหาวิทยาลัย
3. สร้างภาพลักษณ์ใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ (คือ เป็นแหล่งรวมของคนดีและเก่ง เป็นเสาหลักของแผ่นดิน) และระดับนานาชาติ (คือ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งมีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการ เป็นที่ยอมรับในระดับโลก)
4. สร้างระบบการประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต (Crisis Communication) ที่ยั่งยืน
5. สร้างระบบที่ยั่งยืนในการควบคุม ตรวจสอบและดูแลภาพลักษณ์ของจุฬาฯ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังต่อไปนี้
ภาระหน้าที่การสื่อสารสู่กลุ่มเป้าหมายชาวต่างประเทศ (International Target Audience) ได้แก่
1. วางแผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ และบริหารการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ก้าวหน้า ของมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งมีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการ เป็นที่ยอมรับในระดับโลก
2. ออกแบบ และพัฒนาสัญลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ให้มีความเป็นสากล พร้อมจัดทำของที่ระลึกติดตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำให้การประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์องค์กรมีความชัดเจน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
3. วางแผน ออกแบบ ประเมินผล และประสานงานเพื่อจัดทำสื่อดิจิตัล สื่อโสตทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อนอกสถานที่เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และโครงการสื่อ สารและประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย
ภาระหน้าที่งานประชาสัมพันธ์เชิงรุก(Proactive Public Relations หรือPPR) ได้แก่
1. วางแผน ประสานงานและประเมินผลการประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมพิเศษเชิงรุกเพื่อ แสดงให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็นถึงศักยภาพทางด้านวิชาการของจุฬาฯ และความมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยที่จะตอบแทนหรือรับใช้สังคมอย่างชัดเจนและ เป็นรูปธรรม
2. สร้างและบริหารการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต (Crisis Communication)
3. ประสานงานด้านการสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนทุกแขนง (Media Relations) เพื่อทำให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัย อาทิ สิ่งอันมีคุณค่าของทุกคณะ หน่วยงาน และสถาบันต่างๆ ในจุฬาฯ ให้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
4. ให้คำปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพแก่หน่วยงานภายในของจุฬาฯ
5. ศึกษาเกี่ยวกับสื่อใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
6. ควบคุมการตรวจสอบและดูแลภาพลักษณ์ของจุฬาฯ
ชื่อหน่วยงาน กลุ่มภารกิจสื่อสารนานาชาติ Chula International Communications (CIC)
สังกัด ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มภารกิจสื่อสารนานาชาติ หรือ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ (ชื่อเดิม) ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2551 ในวาระที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัย ในยุทธศาสตร์ "ก้าวหน้า" ที่มุ่งหวังให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลกมีมาตรฐาน และคุณภาพทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
หลักการและเหตุผล
กลุ่ม ภารกิจสื่อสารนานาชาติ เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางการจัดการและสร้างระบบการสื่อสาร ที่ทันสมัย รองรับกับการมุ่งหวังที่จะให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำใน ระดับโลกมีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญและหันมาดูแลภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวาระที่พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกำกับของ รัฐบาลผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว นับเป็นวาระที่เหมาะสมที่มหาวิทยาลัยจะได้ปรับภาพลักษณ์ (repositioning) โดยการสื่อสารภาพขององค์กรที่เก่าแก่ แต่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการอย่างสูง เป็นองค์กรที่มีบุคลากร ที่มีความรู้และความสามารถ ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างเข้มแข็งและเต็มกำลัง อีกทั้งยังทำงานให้มหาวิทยาลัย สังคม และประเทศชาติได้ด้วยความมั่นคงและมีความสุข
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์ Chula International Communications ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการจัดการและสร้างระบบการสื่อสารที่ทันสมัยให้เป็น คลังปัญญาหรือ Brain Bank ซึ่งเป็น Data base และสร้าง online press room ซึ่งเป็น Search Engine สำหรับข่าวสารที่รวดเร็วถูกต้องเพื่อตอบสนองแก่กลุ่มเป้าหมายของการสื่อสาร อันได้แก่ ภายในองค์กร (ผู้บริหาร/ คณาจารย์/ บุคลากร/ นิสิต) และ ภายนอกองค์กร (ชุมชน/ นิสิตเก่า/ ประชาชนทั่วไป/ สื่อมวลชนในประเทศและต่างประเทศ
2. เพื่อเสนอผลงานของโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
3. เพื่อทำให้ประชาคมในจุฬาฯ และบุคคลภายนอกทั้งในประเทศ และต่างประเทศรับรู้และจดจำภาพลักษณ์ใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
© Copyright 2025 Chula International Communication Center.